• หน้าแรก
  • อุปมาแก่นไม้กับแก่นธรรม
  • พระพุทธรูปยุคต่างๆ
  • เสียงธรรมคีตะ
  • สมุดเยี่ยม
  • ติดต่อเรา
ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ทุกวัน
๑. ความไม่ประมาท
      (รวมลิงค์ ดีดี ครับ)                     อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
 
                                                       ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
            ชีวิตของคนเรานี้ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมา ได้ประกอบกิจการงานแห่งตนใน มัชฌิมวัยแล้วก็ตายไปในวัยชรา เวลาแห่งชีวิตเหมือนสายน้ำที่ไหลไป  ย่อมไม่ไหลกลับมาอีกหากเราปล่อยชีวิต ให้ผ่านไปวันหนึ่งๆ โดยไม่หาสาระ
ประโยชน์ที่แท้จริงแล้วไซร้ วันหนึ่งเราจักต้องตายไปอย่างไร้ค่า ไม่ต่างอะไรกับดอกไม้ใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นแล้ว
            กาลเวลาไม่เพียงแต่ผ่านไปเท่านั้นแต่ยังได้กลืนชีวิตของมนุษย์ไปด้วยเครื่องสำอา สิ่งย้อมผ้า  เครื่อง
ประดับประดาทั้งหลาย  ที่นำมาอำพรางความเสื่อมไปของสังขาร ย่อมทำให้ผู้ใช้  หลง ประมาท และมัวเมาในความ
มีชีวิต เพราะสิ่งเหล่านี้ จะไปปิด บังเทวทูต คือ ความแก่ ที่มาเตือนให้รู้ว่า ถึงเวลาที่จะเร่งทำความดีเพื่อเตรียม
ตัวตายให้พร้อมไว้ได้แล้ว.
๒. อคติ ๔
                                                        ความเป็นกลาง ยากยิ่ง จริงๆหนอ
                                                 อคติ คือต้นตอ หัวข้อใหญ่
                                                 ความลำเอียง จึงสำแดง แฝงภายใน
                                                 พาลเทใจ ให้กูลเกื้อ ช่วยเหลือกัน
                                                        อคติ แยกออกไป ได้สี่อย่าง
                                                 ฉันทาคติ คือหนึ่งทาง ตัวอย่างนั้น
                                                 เมื่อชอบใคร ความเป็นกลาง ก็จางพลัน
                                                 ถือว่านี่ คือพวกฉัน ดันกันไป
                                                        โทสาคติ ด้วยความชัง ขาดยั้งคิด
                                                 ขุ่นในจิต ตัดสินใจ ไร้ครวญใคร่
                                                 ด้วยความเกลียด ในส่วนตัว พันพัวใจ
                                                 ความเป็นกลาง ย่อมหายไป ได้เช่นกัน
                                                         โมหาคติ ด้วยความหลง ซื่อตรงหาย
                                                  โง่งมงาย สำคัญผิด คิดสั้นๆ
                                                   ขาดเฉลียว มองความทุกข์ สุขอนันต์
                                                   ความเป็นกลาง จึงเหหัน พลันกลับกลาย
                                                          ภยาคติ ด้วยกลัวภัย พาใจหวั่น
                                                   เกรงโทษทัณฑ์ เข้ามาหา พาหัวหาย
                                                   ขืนซื่อตรง ชีวิตหวัง พังทลาย
                                                   ความเป็นกลาง ย่อมเคลื่อนย้าย หายจากใจ
                                                           และนี่คือ สาเหตุใหญ่ พาใจเคลื่อน
                                                   เปรียบดังเขื่อน เจอน้ำหลาก ยากกั้นไหว
                                                   อคติ มักแฝงเร้น ไม่เว้นใคร
                                                   ขึ้นอยู่กับ ว่าจิตใจ ใครแกร่งพอ
            ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดุจพระจันทร์
ข้างแรมฉะนั้น ฯ
            ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม  เพราะความรัก ความชัง ความหลง  ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้นฯ

                                                               อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปาทะวะยะธัมมิโน
                                                  อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข

                                                              โอ้ โอ๋ อนิจจา สังขาราไม่เที่ยงตรง
                                                    หนุ่มแก่ย่อมจักปลง ชีวิตม้วยอย่าสงกา
                                                    อุบัติเกิดแล้วก็กลับ วิญญาณดับจากสรีรา
                                                    ขาดสิ้นแห่งปาณา วิการกายก็เป็นไป
                                                    บ่ เที่ยง บ่ ทนทาน บ่ อยู่นานสักเพียงใด
                                                    ย่อมเสื่อมย่อมสิ้นไป ทุกคณานิกรชน
                                                    สิ่งสุขอันประเสริฐ สุขล้ำเลิศสถาผล
                                                    คือจิตอย่ากังวล เบญจกามคุณา
                                                    ดับสนิทในสังขาร ที่จิตซ่านคือตัณหา
                                                    ไม่ใคร่ในภวา วิภะวะประเสริฐแล.
                                                        จากหนังสือ "มนต์พิธีแปล" หน้า ๑๗
                                           รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ)
๓. อานิสงส์การเรียนพระวินัย

            บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติตามพระวินัยคือศีล อย่างเคร่งครัดแล้ว  ย่อมได้
อานิสงส์ตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเสมอเหมือนกัน  ๕  ประการ   คือ

          ๑.  อตฺตโน  สีลกฺขนฺโธ  สุคุตฺโต  โหติ  สุรกฺขิโต ( กองศีลของตนเป็นอันรักษาไว้ดีแล้ว )

          ๒. กุกฺกุจฺจปกตานํ  ปฎิสรณํ  โหติ. ( เป็นที่พึ่งแก่เหล่ากุลบุตรที่ถูกความสงสัยครอบงำได้ )

          ๓. วิสารโท  สํฆมชฺเฌ  โวหรติ.  ( กล้าแสดงความคิดเห็นในท่ามกลางสงฆ์ )

          ๔. ปจฺจตฺถิเก  สหธมฺเมน  สุนิคฺคหิตํ  นิคฺคณฺหาติ. ( ข่มขี่ฝ่ายตรงข้ามคือข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม )

          ๕. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา  ปฏิปนฺโน  โหติ. ( เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม )

           นอกจากนี้การศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติตามพระวินัยคือศีลอย่างเคร่งครัด  ยังมีอานิสงส์
อีก  ๓  ประการ คือ

           ๑. สีเลน  สุคตึ  ยนฺติ   บุคคลย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ได้ก็เพราะศีล
           ๒. สีเลน  โภคสมฺปทา  บุคคลย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์ได้ก็เพราะศีล
           ๓. สีเลน  นิพฺพุตึ  ยนฺติ  บุคคลย่อมบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล

           ดังนั้น  ถ้าบรรพชิตและคฤหัสถ์ทุกหมู่เหล่าที่ได้ศึกษาและปฏิบัติตามพระวินัยคือศีลอย่างสม่ำเสมอ
เหมือนกัน. เคร่งครัดและสม่ำเสมอแล้ว พระวินัยคือศีลก็จะเป็นบาทเบื้องต้น ให้ได้รับอานิสงส์ดังกล่าวนี้ 

  ๔. วิธีแก้ไขบาป    
            ในพระพุทธศาสนามีวิธีการแก้ไขบาปอกุศลที่เคยพลาดพลั้งกระทำไป ได้อย่างมีเหตุผลดังนี้สมมุติว่าเรามี
เกลืออยู่ช้อนหนึ่ง ใส่ลงไปในน้ำ ๑ แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลเป็นอย่างไร"ก็เค็ม"ถ้าเอาน้ำแก้วนี้ใส่ลง
ในถังน้ำแล้วเติมน้ำให้เต็มชิมดูเป็นอย่างไร"ก็แค่กร่อยๆ ถ้าเอาน้ำในถังนี้ใส่ลงในแท็งก์น้ำฝนใบใหญ่ชิมดูเป็นอย่างไร"
ก็จืดสนิท เกลือหายไปไหนหรือเปล่า เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม  แล้วทำไมไม่เค็ม  ก็เพราะน้ำในแท็งก์มีปริมาณ
มาก  มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือ  จนกระทั่งหมดฤทธิ์  เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็มภาษาพระท่านเรียก
อัพโพหาริก หมายความว่า มีเหมือนไม่มี  คือเกลือนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี
            เช่นกัน วิธี แก้ไขบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การหยุดทำบาปแล้วตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้บุญกุศลนั้น  มาทำให้ผลบาปทุเลาลงไป การทำบุญอุปมาเสมือนเติมน้ำ ทำบาปอุปมาเสมือนเติม เกลือ เมื่อเราทำ
บาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไป ไม่มีใครไถ่บาปแทนได้ แต่เราจะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มาก เพื่อมาทำให้บาปมีฤทธิ์
ิ์น้อยลง หรือให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้