• หน้าแรก
  • อุปมาแก่นไม้กับแก่นธรรม
  • พระพุทธรูปยุคต่างๆ
  • เสียงธรรมคีตะ
  • สมุดเยี่ยม
  • ติดต่อเรา
ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ทุกวัน
วันอัฏฐมีบูชา
            อัฏฐมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันอัฏฐมี หมายถึง การบูชาในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน๖ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิง
พระสรีระของพระพุทธเจ้าถัดจากวันวิสาขบูชามา ๘ วัน กล่าวคือเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานระ
หว่างต้นรังคู่ป่าสาลเมืองกุสินาราความเศร้าโศกก็เกิดขึ้นทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชนที่เป็นปุถุชน ส่วนพระขีณาสพ
ก็เกิดธรรมสังเวช
            พวกมัลลกษัตริย์ได้ทำการบูชาพระบรมศพด้วยเครื่องบูชาอันประณีตและสวยงาม ประกอบพิธีเหมือนดังที่
จัดให้แก่พระมหากษัตริย์ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้  ในวันที่  ๗  จึงอัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ 
มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองกุสินาราแล้วถวายพระเพลิง แต่ไฟไม่ติด โดยเทพยดาได้บันดาล
ไว้เพื่อรอพระมหากัสสปะมาถึงฝ่ายพระมหากัสสปะได้พาภิกษุ  ๕๐๐ รูป เดินทางไปยังเมืองกุสินาราตอนเที่ยงได้
พบกับอาชีวกคนหนึ่งสอบถามและทราบว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันจึงเดินทางต่อไปจนถึงเมืองกุสินารา
เมื่อถึงมกุฏพันธนเจดีย์แล้วก็พาพระสงฆ์ประนมมือเดินเวียนรอบจิตกาธาน๓รอบแล้วเข้าไปถวายบังคมพระบาทของ
พระพุทธองค์ทันใดนั้นเทพยดาก็บันดาลให้ไฟลุกขึ้นที่จิตกาธานเผาพระบรมศพจนหมดสิ้น เหลือเพียงผ้า ๑ คู่ ที่ใช้หุ้มห่อพระบรมศพชั้นในสุดและชั้นนอกสุด กับพระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ สิ่งทั้ง ๗ นี้  ยังคงอยู่ปกติมิได้
กระจัดกระจายไป  
            ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกกระจายออกเป็น ๓ ขนาด  คือขนาดใหญ่ประมาณเท่าเมล็ดถัวแตก   ขนาดกลางประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กประมาณเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด และหลังจากนั้น ได้มีการแบ่ง
พระบรมสารีริกธาตุไปตามทที่ปรากฏในคัมภีร์และเอกสารต่าง ๆ ทั่วไปพิธีกรรมที่ปฏิบัติในวันอัฏฐมีบู  ชาในอดีตไม่
ปรากฏหลักฐานเอกสารที ่เด่นชัด จึงสันนิษฐานว่า จะนิยมจัดเฉพาะบางวัดเท่านั้น ไม่แพร่หลายทั่วไปเหมือนวัน
วิสาขบูชาและวันอื่นๆ หลักปฏิบัติในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๔ วันนี้มีความ
เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรงในปัจจุบันนิยมมีพิธีปฏิบัติในวันทั้ง๔นี้คล้ายคลึงกันคือ
            ๑. การใส่บาตรทำบุญที่วัดหรือที่บ้านในเวลาเช้า
            ๒. การสมาทานศีล๕หรือศีลอุโบสถ
            ๓. การปล่อยนกปล่อยปลาหรือสัตว์มีชีวิตอื่นๆ
            ๔. การงดเว้นการดื่มสุราเมรัย และอบายมุขทุกชนิด  และสถานเริงรมย์บางแห่งก็ร่วมบำเพ็ญบุญ
โดยงดเปิดกิจการในวันทั้ง๓ ยกเว้นวันอัฏฐมีบูชา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย  
            ๕. การไปนมัสการไหว้พระสวดมนต์ และทำบุญตามวัดวาอารามต่าง ๆ
            ๖. การฟังพระธรรมเทศนาและปฏิบัติสมาธิภาวนา
            ๗ การสนทนาธรรมกับพระภิกษุหรือผู้ทรงคุณทางศาสนา
            ๘.การเวียนเทียนที่วัดโดยพุทธศาสนิกชนจะเตรียมดอกไม้ธูป เทียน ไปวัด เมื่อถึงกำหนดเวลาเวียนเทียน (ส่วนมากจะเป็นตอนกลางคืน ช่วง ๑๙.๐๐ - ๒๐.๓๐น.) ก็จะประกอบพิธีดังนี้
            ๑. เมื่อถึงวันวิสาขบูชา (รวมทั้งวันมาฆบูชาอาสาฬหบูชาหรืออัฏฐมีบูชา)ควรเตรียมเครื่องบูชา เช่นธูป เทียนดอกไม้ไว้ให้พร้อม การแต่งกายไปประกอบพิธีควรให้สุภาพเรียบร้อย
            ๒.เมื่อไปชุมนุมพร้อมกัน ณ ที่จะประกอบพิธีบูชา เช่น ที่หน้าลานโบสถ์วิหาร หรือลานหน้าพระเจดีย
พระสถูปองค์ใดองค์หนึ่ง และเมื่อได้เวลาประกอบพิธีแล้วให้ทุกคนยืนถือดอกไม้ ธูป เทียน ด้วยมือขวาชูขึ้น
ไว้เสมอลำตัว
            ๓. พระสงฆ์ผู้เป็นประธานในพิธีกล่าวให้โอวาท (หรือความสำคัญและความเป็นมาของวันนี้) ประมาณ
๑๐–๑๕นาทีทุกคนประนมมือถือดอกไม้ธูป เทียนตั้งใจฟังด้วยความเคารพเมื่อพระสงฆ์ให้โอวาทจบลงให้
เปล่งเสียงสาธุการ
            ๔. ประธานพิธีแจ้งให้ทุกคนจุดธูป เทียน  แล้วกล่าวนำบูชา  ทุกคนว่าตาม
            ๕.  เมื่อกล่าวคำบูชาพระสงฆ์จะเดินนำหน้า ประชาชนเดินตามหลังเวียนขวารอบโบสถ์ หรือปูชนียสถาน๓ รอบด้วยอาการสงบ
            ๖. เมื่อครบ ๓ รอบแล้วให้นำธูปไปปักไว้ที่กระ
ถางธูปนำเทียนไปปักไว้ที่ราวเชิงเทียนและนำดอกไม้ใส่ไว้ใน
ภาชนะที่วัดจัดไว้เป็นเสร็จพิธีในการเดินเวียนรอบอุโบสถหรือปูชนียสถานนั้นท่านผู้รู้ได้แนะนำ
ให้ภาวนาในใจในการเดินเวียนแต่ละรอบ  ดังนี้รอบที่  ๑  ให้น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าโดยสวดบทสรรเสริญ
พระพุทธคุณ (อิติปิโส ภควา…)  ไปจนจบรอบ     หรือหากใครสวดไม่ได้ อาจภาวนาในใจว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ..ไปจนจบรอบก็ได้รอบที่ ๒ ให้น้อมจิตระลึกถึงพระธรรมโดยสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ (สฺวาก
ขาโตภควตา ธมฺโม  )ไปจนจบรอบ หรือหากใครสวดไม่ได้ อาจภาวนาในใจว่า ธมฺโมธมฺโม.ไปจนจบรอบก็ได้รอบที่ ๓ ให้น้อมจิตระลึกถึงพระสงฆ์โดยสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ(สุปฏิปนฺโนภควโตสาวกสงฺโฆ)
ไปจนจบรอบ หรือหากใครสวดไม่ได้ อาจภาวนาในใจว่า  สงฺโฆ สงฺโฆ ไปจนจบรอบก็ได้อนึ่งก่อนหรือหลังเวียนเทียน
บางวัดนิยมมีพระธรรมเทศนาหรือเจริญพุทธมนต์บทที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนั้นๆด้วยและบางวัดก็จะจัดให้มีนิทรรศ
การเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญนั้นโดยใช้สื่อต่าง ๆ  เช่นรูปภาพสไลด์เป็นต้นซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นความสน
ใจของพุทธศาสนิกชนไม่น้อย
            ปัจจุบันราชการได้กำหนดวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา๓วันคือวันวิสาขบูชาวันมาฆบูชาและ
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการแต่วันอัฏฐมีบูชาไมได้ถูกกำหนดว่าเป็นวันหยุดราชการการนับกำหนด
วันทั้ง ๔ ในปีอธิกมาส  ให้เลื่อนไปอีก ๑ เดือน  คือ วันมาฆบูชาจะตรงกับกลางเดือน ๔ วันวิสาขบูชาและวัน
อัฏฐมีบูชาจะอยู่ในเดือนและวันอาสาฬหบูชาจะตรง
กับเดือน ๘ หลัง