• หน้าแรก
  • อุปมาแก่นไม้กับแก่นธรรม
  • พระพุทธรูปยุคต่างๆ
  • เสียงธรรมคีตะ
  • สมุดเยี่ยม
  • ติดต่อเรา
ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ทุกวัน
วันวิสาขบูชา
           วิสาขบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเขียนอีกอย่างหนึ่งว่าวิศาขบูชา
วันวิสาขบูชาเป็นวันทีมีความสำคัญพิเศษที่สุดในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน   เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันแล้วนเป็นวันที่มีความสำคัญต่อพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่เกิดต่างปีกันในช่วง
เวลา  ๘๐  ปีเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นคือการประสูติ
           การตรัสรและการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยทั้ง ๓ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖เหมือน
กันแต่ต่างปีกัน คือ
           ๑. วันประสูติ ตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน ๖ ปีจอ เวลาสายใกล้เที่ยงก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปีเกิดขึ้น ณป่าลุมพินีเขตติดต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะปัจจุบันเรียกว่าตำบลรุมมินเด
           ๒. วันตรัสรู้ เกิดขึ้นในเวลา ๓๕ ปีต่อมา ภายหลังที่สิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาได้ ๖ ปี ณ โคน
ต้นโพธิ์ใบชื่อว่า อัสสัตถะใกล้แม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธปัจจุบันเรียกว่า ตำบลพุทธคยา
           ๓. วันปรินิพพานเกิดขึ้นในปีที่ ๘๐ แห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า ณ แท่นบรรทมระหว่าง
ต้นรังคู่ ป่าสาละ เมืองกุสินาราปัจจุบันเป็น ตำบลกุสินารา หรือ
กุสินาคารรัฐอุตตรประเทศนับเป็นการยากยิ่งนัก
ที่เหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณจะเกิดขึ้นในวันเดียวกัน ของปีที่ต่างกันดังนั้น ชาวพุทธจึงถือว่าวันนี้เป็นวันที่
สำคัญทางพุทธศาสนา และได้จัดพิธีบูชากันอย่างยวดยิ่ง
           การจัดพิธีบูชาในวันวิสาขบูชาได้สันนิษฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาทได้แพร่หลายเข้ามาตามหนังสือเรื่องนางนพมาศซึ่งได้กล่าวถึงพิธีบูชาในวันวิสาขบูชาว่าทำกันอย่างเอิก   เกริกเป็นเวลา ๓ วัน ๓คืนกิจกรรมที่จัดเป็นพุทธบูชาได้แก่ประดับบ้านเรือนด้วยโคมประทีปและดอกไม้ประพรม
สุคนธรส รักษาอุโบสถศีล ฟังพระธรรมเทศนา บูชาธรรมถวายสลากภัตสังฆทานยกธงผ้าบูชาพระสถูปเจดีย์ 
บริจาคทรัพย์แจกจ่ายแก่คนขัดสนเข็ญใจ ไถ่ชีวิตสัตว์ ปล่อยนกปล่อยปลาและที่ขาดไม่ได้ก็คือการเวียนเทียน
            แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ ประเพณีดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานว่า
มีหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะบ้านเมืองในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการทำพิธีก็ได้ในรัชกาลที่ ๒ ปรากฏในพงศาว
ดารว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะบำเพ็ญกุศลที่มียิ่งกว่าที่ได้ทรงบำเพ็ญมาจึงได้ตรัสถามสมเด็จพระสังฆราช
และสมเด็จพระสังฆราช(มี :วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์)  ได้ถวายวิสัชนาว่าให้บำเพ็ญการบูชาในวันวิสาขบูชา
ทำให้พระองค์เกิดปีติโสมนัสรับสั่งให้ประกอบพิธี ๓ วัน ๓ คืน คือ  ตั้งแต่ขึ้น ๑๔ ค่ำ ถึง แรม ๑ ค่ำ  เดือน ๖โดยมี
พิธีกรรมคือการรักษาอุโบสถศีล เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  และเสพสุราเมรัย ตั้งโคมแขวนตามประทีป เวียนเทียน
แสดงธรรมเทศนา ทำบุญตักบาตรปล่อยสัตว์สวดพระปริตรทำน้ำมนต์ ถวายสลากภัต เช่นเดียวกับพิธีกรรมที่ปรากฏ
ในสมัยสุโขทัยในปัจจุบันราชการได้ให้ความสำคัญแก่วันนี้โดยกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งวัน